ที่ Albano วิทยาเขตแห่งใหม่ของ Stockholm University เพิ่มศักยภาพในห้องบรรยายด้วยระบบ AVoIP และผลิตภัณฑ์ของพานาโซนิค

วิทยาเขตแห่งใหม่ของมหาวิทยาลัยที่ประกอบไปด้วยอาคารวิจัยและอาคารเรียนที่ล้ำสมัยด้วยระบบ WolfVision SDMs และ กล้อง PTZ ควบคู่กันกับการนำเสนอภาพด้วยโปรเจคเตอร์ของพานาโซนิค

Scroll down

Client: Stockholm University

สถานที่ตั้ง: Stockholm, Sweden

Product(s) supplied: PT-FRZ50 PT-RZ120 PT-VMZ40 AW-HN40H

Challenge

เพื่อสร้างวิทยาเขตแห่งใหม่ที่มีความทันสมัยใน Albano พร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ง่ายต่อการใช้งาน และทนทานสำหรับการทำวิจัย รวมถึงการเรียนการสอนทั้งในปัจจุบันและโลกการศึกษาแห่งอนาคต

Solution

ใช้ระบบเครือข่าย AV-over-IP network เพื่อควบคุมจุดเชื่อมต่อกว่า 400 จุด และ โปรเจคเตอร์ที่มีช่องเชื่อมสัญญาณ Intel SDM และ กล้อง PTZ แบบควบคุมด้วยรีโมทของพานาโซนิค

อุปกรณ์พานาโซนิค: ติดตั้งจอภาพ 140 จอ เครื่องโปรเจคเตอร์จำนวน 82 เครื่อง กล้องควบคุมรีโมท PTZ ในห้องบรรยาย ห้องเรียน และระบบถ่ายทอดสดการบรรยาย

  • จอพานาโซนิค SQE ซีรีส์ พร้อมช่องสัญญาณ Intel SDM สำหรับเชื่อมต่อระบบควบคุมไร้สาย WolfVision, Cynap Pure
  • จอพานาโซนิค CQE ซีรีส์
  • เลเซอร์โปรเจคเตอร์พานาโซนิค 1-Chip DLP รุ่น PT-RZ120 Solid Shine ขนาด 12,000 lm ติดตั้งในห้องบรรยายรวม (auditorium) ขนาดใหญ่
  • เลเซอร์โปรเจคเตอร์พานาโซนิครุ่น PT-FRZ50 ที่รองรับต่อการบรรยายในห้องเรียนและการเรียนทางไกล
  • เลเซอร์โปรเจคเตอร์พานาโซนิครุ่น PT-VMZ40 LCD ที่โดดเด่นเรื่องภาพที่สว่างสดใสและรูปทรงที่กะทัดรัด
  • กล้อง PTZ พานาโซนิครุ่น AW-HN40 เหมาะสำหรับการเรียนการสอนแบบไฮบริด (การผสมผสานการบรรยายในชั้นเรียนและการสอนแบบออนไลน์) และการบันทึกการบรรยาย

การติดตั้ง: บริษัท Informationste
knik ผู้จำหน่าย: Special-elektroni
kPhoto เครดิตภาพ: Informationsteknik & Specialelektronik

""ทั้งในเรื่องประสิทธิภาพของการทำงาน ความง่ายในการใช้งานและการดูแลอุปกรณ์ อีกทั้งความสามารถที่จะต่อยอดการใช้งานต่อไปในอนาคต ผมเชื่อเหลือเกินว่าระบบการนำเสนอภาพและเสียงของที่นี่ยากที่จะหาใครมาเทียบได้ในทวีปยุโรป""

ศูนย์วิจัยและการศึกษาแห่งใหม่ มีพื้นที่กว่า 70,000 ตารางเมตร สามารถรองรับนักศึกษาได้มากกว่า 15,000 คน จำเป็นต้องมีเครือข่ายระบบการแสดงภาพและเสียงเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของมหาวิทยาลัยในกิจกรรมต่างๆ ทั้ง ณ ปัจจุบันและอนาคต

นั่นคือคำอธิบายถึงความต้องการของวิทยาเขตแห่งใหม่ของมหาวิทยาลัย Stockholm ที่จะตั้งอยู่ในเมือง Albano Mauritz Tortenson ผู้รับผิดชอบภาพรวมของการจัดการทั้งหมดของมหาวิทยาลัย Stockholm แห่งนี้ เป็นคนที่มีภาพในหัวชัดเจนว่าต้องการสิ่งใดสำหรับวิทยาเขตแห่งนี้ เล่าให้ฟังว่า

"ทุกพื้นที่ที่ใช้สำหรับการประชุม และห้องเรียนทุกห้องต้องมีระบบบรรยายภาพและเสียงที่ทำงานได้อย่างราบรื่น และง่ายต่อการใช้งานทั้งต่อผู้บรรยายและนักศึกษาไม่ว่าจะเป็นการเข้าเรียนในห้องด้วยตัวเองหรือเข้าเรียนออนไลน์ก็ตาม และเราก็ต้องการอุปกรณ์ที่มีคุณภาพและความทนทานสูงเพื่อการใช้งานทั้งในปัจจุบันและอนาคต"

บริษัท Informationsteknik ผู้ชนะการประมูลด้วยมูลค่า 50 ล้าน Kronor (4.5 ล้านยูโร) เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะที่จะเข้ามาติดตั้งอุปกรณ์การบรรยายภาพและเสียงในระบบเครือข่าย integrated AVoIP กว่า 400 จุด ซึ่งไปประกอบไปด้วยห้องประชุมที่มีมากกว่า 130 ห้อง ห้องบรรยายใหญ่ 7 ห้อง และ ห้องเรียน 40 ห้อง โดยที่ปรึกษาระบบภาพและเสียงของบริษัทอย่าง Mr. Johas Backman เป็นผู้วางแผนการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับทางมหาวิทยาลัย

ไม่จำเป็นต้องใช้ผู้ผลิตหลายราย

Mats Andreasson หนึ่งในผู้นำทีมประมูลของบริษัท Informationsteknik อธิบายเพิ่มเติมว่า "เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า การกำหนดให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากผู้ผลิตเดียวกันให้มากที่สุดเป็นสิ่งสำคัญต่อการลดความยุ่งยากในการใช้งาน และเพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถจัดการกับอุปกรณ์ทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเองก็มีประสบการณ์การทำงานกับผลิตภัณฑ์ของพานาโซนิค และ ระบบการจัดการของ Creston มาก่อนแล้ว การโช้ระบบที่ต่อยอดสู่การใช้งานในอนาคต อันเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราชนะการประมูลนั้นคือ ระบบเครือข่ายเดี่ยวแบบ AVoIP โดยใช้ Creston และ เทคโนโลยี DM-NVX ในการส่งสัญญาณภาพและเสียง รวมถึงเป็นระบบควบคุมเครือข่ายที่ช่วยประหยัดการวางสายเคเบิ้ลในหลายๆ พื้นที่

อุปกรณ์ในห้องเรียนและพื้นที่สำหรับการประชุมที่เลือกมาเป็นของพานาโซนิคทั้งหมด ตั้งแต่เครื่องโปรเจคเตอร์ กล้อง PTZ และจอภาพ ซึ่งในเบื้องต้นนั้น แม้จะมีการกำหนดให้ใช้จอภาพของผู้ผลิตรายอื่น แต่เมื่อพิจารณาถึงจอภาพของพานาโซนิค ซีรีส์ SQE ที่มีช่องสัญญาณ SDM จึงทำให้ความคิดของเราเปลี่ยนไป โดยช่องสัญญาณ SDM จะช่วยทำให้ทางมหาวิทยาลัยสามารถใช้งาน Wolfvision ซึ่งเป็นระบบการบรรยายแบบไร้สาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่จำเป็นต้องต่อสายเคเบิ้ลเพิ่มเติมเพื่อเชื่อมต่อกับกล่องรับสัญญาณเสริมใดๆ

SDM ตอบโจทย์ในการทำงานทั้งปัจจุบันและอนาคต

ทางพานาโซนิคเห็นความสำคัญของ Intel SDM ที่จะช่วยให้อุปกรณ์นำเสนอภาพและเสียงสามารถใช้งานได้ยืดหยุ่นและมีความหลากหลายซึ่งสามารถรองรับการใช้งานต่อไปในอนาคตได้ และด้วยเหตุนี้เอง Intel SDM จึงกลายมาเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ถูกติดตั้งในเครื่องโปรเจคเตอร์และจอภาพรุ่นใหม่อีกหลายๆ รุ่น

Mats ยังกล่าวต่อไปอีกว่า "และที่สำคัญมากที่สุดคือ จอภาพของพานาโซนิคสามารถแสดงภาพที่มีความละเอียดสูง และให้ความสว่างได้มากกว่าของผู้ผลิตหลายๆรายในตลาด และ ในราคาที่ถูกกว่าด้วย ซึ่งสิ่งนี้เองที่ทำให้เราตัดสินใจได้ง่ายมาก"

ที่วิทยาเขต Albano นี้ ได้ติดตั้งจอภาพพานาโซนิคทั้งหมด 140 จอภาพในห้องเรียน 120 ห้อง และจะทำงานร่วมกันกับพานาโซนิคซีรีส์ SQE และ รวมถึงซีรีส์ CQE ซึ่งเป็นซีรีส์เริ่มต้น, รวมถึงติดตั้งระบบการควบคุมไร้สายจาก WolfVision Cynap Pure, และช่องสัญญาณ SDM

เครื่องโปรเจคเตอร์ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ

สถานศึกษาที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางเทคโนโลยีในการเสนอภาพและเสียงการบรรยายจากโปรเจคเตอร์พานาโซนิค ในห้องบรรยายขนาดใหญ่ (auditorium) จะติดตั้งด้วยเลเซอร์โปรเจคเตอร์ 1-Chip DLP เทคโนโลยี Solid Shine รุ่น PT-RZ120 ทั้งหมด 12 เครื่อง ขนาดความสว่าง 12,000 lm ตัวเครื่องได้รับการออกแบบมาสำหรับการใช้งานหนัก และมีอายุการใช้งานยาวนาน เหมาะสำหรับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย มีความแม่นยำในการแสดงภาพและมีสีสันสดใส ด้วยความละเอียดแบบ WUXGA พร้อมสัดส่วนความแตกต่างถึง 10,000:1 พร้อมด้วยระบบ System Daylight View 3 ทำให้สามารถแสดงภาพได้สว่างชัดเจนแม้ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงสว่างสูง เหมาะกับห้องเรียนขนาดใหญ่เป็นอย่างยิ่ง

รองรับการศึกษาที่มุ่งเน้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมไปกับการเรียนการสอน

ที่วิทยาเขตแห่งนี้ประกอบไปด้วยห้อง Active Learning Centers จำนวน 4 ห้อง เพื่อวัตถุประสงค์ให้บรรดานักศึกษามีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอน โดยแต่ละห้องจะมีโต๊ะกลมสำหรับนั่งประชุม กระดาน และจอภาพระบบการนำเสนองานแบบไร้สาย และเทคโนโลยีที่สนับสนุนให้บรรดานักศึกษาทำงานร่วมกัน โดยสามารถนำอุปกรณ์ของตัวเองไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือแม้กระทั่งโทรศัพท์ มาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายในห้องเพื่อแบ่งปันข้อมูลให้กันและกัน การทำงานและพูดคุยร่วมกันในห้องนี้ยังช่วยให้เหล่าอาจารย์สามารถมีส่วนร่วมกับนักศึกษาในกลุ่มย่อยๆได้ อีกทั้งยังสามารถติดตามการสอนของตนเองกับบรรดานักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นักศึกษาสามารถส่งสัญญาณภาพเพื่อไปแสดงบนจอ หรือแสดงผ่านเครื่องโปรเจคเตอร์ที่ต้องการผ่านระบบ AVoIP และด้วยระบบ AVoIP นี้ ยังสามารถดึงภาพบนจอไปแสดงที่อื่นได้ในเวลาเดียวกันโดยไม่มีการดีเลย์ของสัญญาณ โดยในห้องยังมีการติดตั้งโปรเจคเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน และเครื่อง visualizers (สำหรับฉายภาพเอกสารบนจอ) เพื่อความสะดวกในการนำเสนองานต่างๆจากโต๊ะที่นักศึกษานั่ง

ห้องที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน และมีความยืดหยุ่นในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ โดยสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเหล่าอาจารย์สามารถควบคุมทุกอย่างได้จากแผงควบคุมระบบสัมผัส ไม่ว่าจะเป็น ความสว่าง การเปิดปิดกล้องและเครื่องโปรเจคเตอร์
โดยทุกๆห้องจะถูกติดตั้งไปด้วยเทคโนโลยีแบบเดียวกันหมด

การเข้าเรียนในห้อง และ การเรียนทางไกล

ในห้องเรียนกว่า 40 ห้องของมหาวิทยาลัยจึงติดตั้งเครื่องเลเซอร์โปรเจคเตอร์แบบ 1-Chip DLP รุ่น PT-FRZ50 ห้องละ 2 เครื่อง อันเป็นจำนวนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทั้งการเรียนในห้องเรียน และการเรียนทางไกล เครื่องโปรเจคเตอร์รุ่นนี้สามารถปรับตั้งค่าการแสดงภาพ (Rich Colour Enhancer) ได้หลายแบบ ทั้งแบบ Dynamic Mode ที่เน้นการแสดงภาพที่มีสีสันสดใส และ ในแบบ Graphic Mode/Standard Mode ที่เหมาะสำหรับการแสดงเนื้อหาการเรียนการสอนต่างๆที่มีกราฟิกต่างๆ เครื่องโปรเจคเตอร์รุ่น FRZ50 ยังมาพร้อมกับระบบ Quiet Mode ช่วยให้ขณะเครื่องทำงานมีเสียงเพียง 27 dB ทำให้ไม่มีเสียงรบกวนระหว่างการเรียนการสอนออนไลน์ หรือ การประชุมออนไลน์ ที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ตัวเครื่องรองรับการเชื่อมต่อสายสัญญาณแบบ 4K/60p เพื่อฉายวิดีโอด้วยความละเอียดแบบ Ultra HD โดยที่มีความเสถียรของสัญญาณสูงแม้ภาพขนาด 4K จะถูกส่งไปยังจอหลายๆจอในเวลาเดียวกัน เครื่องโปรเจคเตอร์ยังง่ายต่อการติดตั้ง เนื่องจากตัวเครื่องมาพร้อมกับเลนส์ optical zoom ขนาด 2.0x ทำให้สามารถปรับการฉายภาพตามขนาดของจอได้หลากหลาย โดยไม่กระทบต่อขนาดและคุณภาพของตัวภาพ

และทางมหาวิทยาลัยก็ยังติดตั้งเครื่องเลเซอร์โปรเจคเตอร์รุ่น PT-VMZ40 อีกจำนวน 10 เครื่องสำหรับห้องประชุมของเจ้าหน้าที่และอาจารย์ โดยเครื่องรุ่นนี้ก็ยังคงเต็มไปด้วยประสิทธิภาพ พร้อมกับรูปทรงกะทัดรัด เช่นเดียวกับเครื่องพานาโซนิครุ่นๆอื่นที่รับประกันการใช้งาน 20,000 ชั่วโมง โดยไม่ต้องบำรุงรักษา

กล้องสำหรับการเรียนการสอนแบบไฮบริด หรือแม้การถ่ายทอดสดการบรรยาย

ในห้องบรรยาย auditorium ขนาดใหญ่จะมีกล้องพานาโซนิค PTZ รุ่น AW-HN40 จำนวน 50 ตัว พร้อมระบบควบคุมไร้สายสำหรับการเรียนการสอนแบบไฮบริด การศึกษาทางไกลและการบันทึกการบรรยาย กล้องเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผลิตภัณฑ์ PTZ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ด้วยความสามารถในการทำงานร่วมกันกับระบบภายในตามมาตรฐานอุตสาหกรรม ที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อความเร็วในการใช้งาน ความทนทาน และคุณภาพของภาพ กล้องทุกตัวภายในห้องบรรยายที่ใหญ่ที่สุดของมหาวิทยาลัยจะถูกควบคุมด้วยระบบควบคุมกล้องไร้สายของพานาโซนิค AW-RP60

อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ง่ายต่อการใช้งาน

ตั้งแต่เริ่มเปิดให้ใช้งาน ทางมหาวิทยาลัยก็ได้รับการตอบรับที่ดีมากจากทั้งเหล่าอาจารย์และนักศึกษา โดย Mauritz รายงานว่า "ทุกคนที่ใช้งานต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ระบบต่างๆนั้นง่ายต่อการใช้งานและตัวห้องเองก็ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงานร่วมกันได้ยอดเยี่ยมมาก" "ด้วยคุณภาพของภาพ ระบบที่ไว้วางใจได้ และความง่ายในการใช้งาน - เพียงแค่เจ้าหน้าที่ 1 คนก็สามารถจัดการระบบทุกห้อง"

"อาจารย์จากคณะเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากท่านหนึ่งมาบรรยายที่วิทยาเขตของเราถึงกับเอ่ยปากชมว่าที่นี่มีห้องบรรยายที่มีระบบการแสดงภาพและเสียงที่ดีที่สุดที่เขาเคยได้ใช้มาเลย"

ทั้ง Maurtiz และ Mats ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การที่โครงการที่มีระยะเวลานานกว่า 2 ปีนี้ประสบความสำเร็จได้ก็เนื่องมาจากการทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกันกับทั้งตัวลูกค้า ฝ่ายประสานงาน และตัวผู้ผลิตเอง

Mats เสริมว่า "ไม่ต้องสงสัยเลยว่าโครงการนี้มันยากและซับซ้อนมากแค่ไหน" "แต่ถึงมันมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ้างระหว่างทาง เราก็สามารถจัดการกับมันได้ ตอนที่เราเริ่มวางแผน เรารู้อยู่แล้วว่าการเชื่อมต่อระบบ IT กับ บรรดาอุปกรณ์การแสดงภาพและเสียงเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดสำหรับทุกๆอย่าง แต่เมื่อพอถึงเวลา เราก็รู้ว่าตัวผลิตภัณฑ์เองสามารถติดตั้งได้ง่ายมาก แทบจะแค่เพียงเสียบปลั๊กต่อเข้าด้วยกันเท่านั้นเอง"

Mauritz เชื่อว่า วิทยาเขต Albano แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย และสมแล้วกับการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในเรื่องอาคารการเรียนการสอน "ทั้งในเรื่องประสิทธิภาพของการทำงาน ความง่ายในการใช้งาน การบำรุงรักษาอุปกรณ์ และความสามารถที่จะใช้งานต่อไปในอนาคต ผมเชื่อเหลือเกินว่าระบบการนำเสนอภาพและเสียงของที่นี่ยากที่จะหาใครมาเทียบได้ในทวีปยุโรป"

Read more insights…

Sorry there was an error...
The files you selected could not be downloaded as they do not exist.

You selected items.
Continue to select additional items or download selected items together as a zip file.

You selected 1 item.
Continue to select additional items or download the selected item directly.

Download selected file