ศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งประเทศสิงคโปร์ (Science Centre)
ศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งประเทศสิงคโปร์ (Science Centre)
ศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งประเทศสิงคโปร์ (Science Centre)
ศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งประเทศสิงคโปร์ เปิดให้ชมนิทรรศการชุดใหม่ชื่อ E-mmersive Experiential Environments (E3) ที่ใช้เทคโนโลยีภาพเสมือนจริง virtual reality หรือ VR เพื่อให้ผู้ชมสัมผัสกับประสบการณ์ในรูปแบบใหม่
พานาโซนิคได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงให้มีส่วนร่วมในงานนิทรรศการนี้ ซึ่งถือเป็นงานนิทรรศการขนาดใหญ่ที่สุดในแถบอาเซียนที่ใช้เลเซอร์โปรเจคเตอร์ในการนำเสนอภาพต่างๆ
ทำไมต้องเลือกพานาโซนิค?
- ประสบการณ์เกี่ยวกับการฉายภาพ mapping ที่ประสบความสำเร็จตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
- การบริการที่ยอดเยี่ยมจากทีมขาย และ ฝ่ายวิศวกรรม
- เลเซอร์โปรเจคเตอร์ของพานาโซนิครุ่น PT-RZ670 ขนาด 6,500 lm ความละเอียดแบบ WUXGA ที่สามารถให้ภาพที่มีคุณภาพสูงได้ยาวนานถึง 20,000 ชั่วโมง * โดยไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนหลอดไฟหรือแผ่นกรอง (ไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษา)
- ตัวเครื่องรุ่น PT-RZ670 สามารถติดตั้งเลนส์ ET-DLE085 ทำให้เครื่องมีความยืดหยุ่นมากพอในการเลือกตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์มีระยะจำกัด
* เมื่อถึงเวลา ความสว่างอาจลดลงกึ่งหนึ่งโดยประมาณ และอาจมีความจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องโดยผู้แทนจำหน่ายเมื่อครบอายุการใช้งาน 20,000 ชั่วโมง อายุการใช้งานของแหล่งกำเนิดแสงอาจแตกต่างกันตามสภาวะแวดล้อมที่ใช้งาน
ความเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แม้ศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งประเทศสิงคโปร์ จะไม่ใช่สถาบันการศึกษา แต่ก็เป็นสถานที่ชั้นนำในเรื่ององค์ความรู้เกี่ยวกับบรรดาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่น่าสนใจและสร้างสรรค์เป็นอย่างยิ่ง ศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งนี้มีความภูมิใจเป็นอย่างสูงที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจและประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นให้กับผู้ชมทุกเพศทุกวัย
การจัดแสดงครอบคลุมเนื้อหามากมายที่เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี แม้กระทั่งคณิตศาสตร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเนื้อหาการศึกษาวิทยาศาสตร์ของโรงเรียน ตลอดจนมีกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆสำหรับผู้เข้าชมทุกคน
พาผู้ชมท่องไปยังโลกเสมือนจริง
การแสดงเน้นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำภายใต้ชื่อ E-mmersive Experiential Envirionments (E3) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพาชาวสิงคโปร์เดินทางไปสำรวจสถานที่ที่ไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน ศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องเลเซอร์โปรเจคเตอร์ที่สามารถฉายภาพ portrait ติดต่อกันตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องที่ต้องเสียเวลาบำรุงรักษาให้น้อยที่สุด
การแสดงชุด E3 จัดขึ้นภายในห้องทรง 8 เหลี่ยม พื้นที่ฉายภาพมีความสูง 7.5 เมตร และทางศูนย์ฯ ก็จำเป็นต้องใช้เครื่องโปรเจคเตอร์ที่มีความสามารถในการฉายภาพความละเอียดสูงบนพื้นผิวที่ถูกจัดเรียงในลักษณะเฉพาะของ Deep Space ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายกล่องวางซ้อนกองสูงเป็นภูเขาทรงเหลี่ยม เพื่อฉายภาพการจำลองโลกใต้ทะเล ซึ่งคุณภาพของภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก อีกทั้งจำเป็นต้องมีความทนทานในการใช้งานด้วย เนื่องจากการแสดงชุดนี้คาดว่าจะจัดขึ้นเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี เราได้รับคำแนะนำให้ใช้เครื่องแบบเลเซอร์โปรเจคเตอร์ เพื่อลดปัญหาเรื่องการบำรุงรักษา โดยเฉพาะการที่ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนหลอดไฟและแผ่นกรองในเครื่องโปรเจคเตอร์ที่ต้องติดตั้งในที่สูง ด้วยเหตุผลเหล่านี้ เราจึงเลือกเลเซอร์โปรเจคเตอร์ของพานาโซนิค รุ่น PT-RZ670 และเลนส์ short throw รุ่น ET-DLE085
การฉายภาพ mapping ของนิทรรศการนี้ จำเป็นต้องใช้ระบบการฉายภาพที่ผสมผสานกันระหว่างเครื่องเลเซอร์โปรเจคเตอร์ PT-RZ670 1-Chip DLP™ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 29 เครื่อง พร้อมเลนส์ ET-DLE085
โดยใช้วิธีติดตั้งซ้อนกันไปมาเพื่อการฉายภาพบนพื้นที่กว้างกว่า 70 เมตร และสูงถึง 7.5 เมตร โปรเจคเตอร์ PT-RZ670 จำนวน 18 เครื่องทำหน้าที่ฉายภาพบนผนังห้องที่ให้ความรู้สึกเหมือนภาพเขียนบนผนัง โดยมีความละเอียดในแนวตั้งที่ 1,920 พิกเซล ช่วยให้ได้รับประสบการณ์การรับชมอย่างใกล้ชิดเพียง 2.5 มม. ต่อพิกเซล
การติดตั้ง
เครื่องโปรเจคเตอร์ PT-RZ670 ทั้งหมดจำนวน 29 เครื่อง
(รวมเครื่องที่ติดตั้งในแนวตั้งจำนวน 18 เครื่อง)
*ภาพถ่ายไม่ได้แสดงจำนวนเครื่องโปรเจคเตอร์ที่ใช้ทั้งหมด
เครื่องโปรเจคเตอร์ PT-RZ670 ยังทำหน้าที่ในการฉายภาพ mapping ที่มีคุณภาพสูงบนภูเขาทรงเหลี่ยม (Deep Space) ด้วย PT-RZ670 เป็นโปรเจคเตอร์เครื่องแรกที่ทำงานด้วยเลเซอร์ทั้งหมด ประกอบด้วยชิพ 1-Chip DLP™ ความสว่างขนาด 6,500 lumens รับประกันการใช้งานยาวนานถึง 20,000 ชั่วโมง* โดยไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษาใดๆ พร้อมกับการฉายภาพที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพแม้ติดตั้งในแนวตั้ง ซึ่งทุกคุณสมบัติช่วยเอื้ออำนวยต่อการจัดแสดงนิทรรศการ E4
* เมื่อถึงเวลา ความสว่างอาจลดลงกึ่งหนึ่งโดยประมาณ และอาจมีความจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องโดยผู้แทนจำหน่ายเมื่อครบอายุการใช้งาน 20,000 ชั่วโมง อายุการใช้งานของแหล่งกำเนิดแสงอาจแตกต่างกันตามสภาวะแวดล้อมที่ใช้งาน
แรงบันดาลใจจากการสำรวจสิ่งใหม่ๆ
ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์การล่องลอยไปบนท้องฟ้าเหนือเมืองต่างๆ หรือ ดำดิ่งลงสู่ใจกลางมหาสมุทรก็สามารถพบได้ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งนี้ กลุ่มเป้าหมายหลักของศูนย์วิทยาศาสตร์สิงคโปร์คือภาคส่วนการศึกษา ซึ่งสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ที่น่าตื่นตาตื่นใจนี้จะช่วยส่งเสริมความคิดเชิงวิทยาศาสตร์และความอยากรู้อยากเห็นของทุกเพศทุกวัย ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างเนื้อหาในตำราเรียนกับประสบการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริง
พานาโซนิคใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการจัดแสดงงานและนิทรรศการ
พานาโซนิคประสบความสำเร็จในการฉายภาพ mapping ขนาดยักษ์ในประเทศสิงคโปร์มาแล้ว ทั้งงาน Singapore Night Festival 2014 และ I Light Marina Bay 2014
และในปีนี้พานาโซนิคยังได้รับเลือกให้รับผิดชอบกับอีกหลายๆโปรเจกต์ด้วยกัน ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดในโอกาสต่อไป
Read more insights…
Case Study
โรงแรม Grand Hyatt สิงคโปร์ ห้อง แกรนด์บอลลูม
โปรเจคเตอร์ PT-RZ21K เป็นตัวเลือกที่สมบูรณ์แบบสำหรับห้อง ballroom และช่วยแก้ปัญหาต่างๆทั้งหมดที่เคยเกิดขึ้นเกี่ยวกับการฉายภาพของโรงแรม Grand Hyatt
Case Study
Funky Forest: Children's Season (เทศกาลสำหรับคุณหนู) 2010 ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งสิงคโปร์
เด็กๆ สร้างโอเอซิส บนผนังและพื้นของพิพิธภัณฑ์
Case Study
เทศกาลยามค่ำคืน Night Festival 2013 ประเทศสิงคโปร์
การฉายภาพ mapping แห่งอนาคต "ท่วงทำนองแห่งเวทมนตร์" (The Magic Melody) บนอาคารพิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์
Case Study
i Light Marina Bay 2014
Panasonic projectors cast light-filled images onto huge lotus petals floating on Marina Bay.
Sorry there was an error...
The files you selected could not be downloaded as they do not exist.
You selected items.
Continue to select additional items or download selected items together as a zip file.
You selected 1 item.
Continue to select additional items or download the selected item directly.
Share page
Share this link via:
Twitter
LinkedIn
Xing
Facebook
Or copy link: