พิพิธภัณฑ์ Melbourne Museum และ Tyama นิทรรศการการฉายภาพและเสียงอันน่าทึ่ง

Scroll down

นิทรรศการชุด Tyama แห่งพิพิธภัณฑ์ Melbourne Museum ที่เป็นการลงทุนแห่งอนาคต และเป็นยิ่งกว่าการจัดแสดงแนวใหม่ เมื่อคุณลงทุนไปกับเรื่องการฉายภาพเพียงอย่างเดียวในมูลค่ากว่าหนึ่งแสนดอลลาร์ คุณย่อมคาดหวังว่าจะสามารถสร้าง "ความรู้สึกดีๆ" ให้กับงานนิทรรศการได้ยาวนานกว่า 6 เดือน Richard Pilkington หัวหน้าฝ่ายเทคนิคประจำโครงการของพิพิธภัณฑ์ Melbourne Museum ยืนยันว่า "เรามองไกลไปถึงการใช้งานในอีก 5 ปีข้างหน้าเลยทีเดียวสำหรับการลงทุนนี้"

แล้วต้องมีเครื่องโปรเจคเตอร์กี่เครื่องจึงจะเพียงพอ? Richard กำหนดไว้ทั้งหมด 46 แต่เมื่อได้เริ่มทำงานร่วมกันกับทีมวิศวกรงานจาก Light Engine จึงได้ข้อสรุปว่า การใช้เครื่องโปรเจคเตอร์แบบ solid state ร่วมกันสองรุ่น คือรุ่น PT-MZ13K และ PT-MZ10K จำนวน 45 เครื่อง ก็เพียงพอแล้วสำหรับการฉายภาพบนพื้นที่ขนาด 30 x 30 เมตร สำหรับทุกๆสถานการณ์ โดยมีเครื่องที่ 46 ไว้ทำหน้าที่เป็น เครื่องสำรอง

การฉายภาพที่หมดยุคสมัยกับการมาถึงของสิ่งใหม่

การฉายภาพในลักษณะที่มอบประสบการณ์ ให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนได้หลุดเข้าไปอยู่ในอีกโลกหนึ่งได้นั้นกลายเป็นสิ่งที่ได้รับการตอบรับที่ดีมากๆ ทำให้มีอุปกรณ์ใหม่ๆสำหรับวงการฉายภาพถูกสร้างขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง การที่จอ LED จะครอบครองอนาคตของการแสดงภาพและเสียงคงจะต้องรอต่อไปก่อน เนื่องจากเครื่องโปรเจคเตอร์ที่มีความสว่างสูง และมีขนาดกะทัดรัดยังคงเป็นอาวุธสำคัญในการแสดงภาพขนาดใหญ่อยู่ในขณะนี้ Richard Pilkington เล่าเรื่องราวในอดีตให้ฟังว่า "ก่อนหน้านี้ที่เรายังอยู่ในช่วงการวางแผน มีหลายๆคนตั้งคำถามกับผมว่า 'แล้วทำไมถึงไม่ใช้จอ LED ล่ะ?' "ผมจึงได้ลองทำการบ้านและศึกษาข้อมูลในด้านนั้นมาพอสมควร จนในที่สุดก็ไร้ข้อกังขาว่าเทคโนโลยีการฉายภาพจะยังคงเป็นทางเลือกอันเหมาะสมที่สุดที่สามารถสร้างอนาคตของพิพิธภัณฑ์ Melbourne Museum"

อีกนัยหนึ่งก็คือ Richard เพียงต้องการหาสิ่งสำคัญที่มากพอที่จะโน้มน้าวความคิดของเขาให้ก้าวไปสู่โลกแห่งจอ LED แทนที่จะใช้เทคโนโลยีการฉายภาพที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้ว

"ผมรู้ว่าเครื่องโปรเจคเตอร์สามารถทำในสิ่งที่เราต้องการได้ในราคาที่ถูกกว่า

"ผมรู้ว่าก่อนที่จะเริ่มฉายภาพแสดงสิ่งใดก็ตาม ทุกอย่างภายในพื้นที่ขนาดใหญ่นั้นจะเริ่มต้นด้วยความมืดสนิท ดังนั้นผมจะต้องเป็นคนควบคุมแสงที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่เหล่านั้นให้ได้ และผมจะสามารถควบคุมแสงจากเครื่องโปรเจคเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าหากเปรียบเทียบกับจอ LED

"จอ LED มีน้ำหนักมาก และจำเป็นต้องติดตั้งโครงสร้างภาพในเพิ่มเติม

"จอ LED มีความร้อนสูงกว่า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการแสดงภาพและเสียงในการแสดงในลักษณะตามวัฒนธรรมทั่วๆไป เช่นห้องแห่งผีเสื้อราตรีใน Tyama

"ผมไม่มั่นใจนักว่าการจะเชื่อมต่อสัญญาณหลายๆประเภทไปยังจอ LED นั้นจะเป็นเรื่องง่าย เรายังไม่มีข้อมูลเหล่านี้

"ศักยภาพของเครื่องโปรเจคเตอร์ได้รับการพิสูจน์มาแล้ว และการเปลี่ยนมาใช้จอ LED ตอนนี้อาจจะทำให้กลายเป็นข้อยุ่งยากสำหรับเราแทน

"ผลิตภัณฑ์อย่างพานาโซนิคนั้น มีเครื่องโปรเจคเตอร์และเลนส์ให้เลือกมากมาย จึงทำให้เรามีความยืดหยุ่นมากในการสร้างโครงการนี้ได้อย่างที่เราต้องการ ณ ตอนนี้ การเลือกใช้จอ LED ก็เหมือนกับเราต้องบังคับตัวเองให้ออกแบบตามการทำงานของจอ แต่หากเป็นเครื่องโปรเจคเตอร์นั้นการทำงานจะต่างกันอย่างสิ้นเชิง"

ผีเสื้อราตรีบนท้องฟ้ายามค่ำคืน

ผู้ชมจะได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของผีเสื้อราตรีเมื่อได้สัมผัสและโต้ตอบกับสิ่งมีชีวิตที่มาจากการฉายภาพนี้ และพาเจ้าผีเสื้อราตรีโบยบินไปหาอาหารโดยนำทางไปยังดอกไม้ที่กำลังเบ่งบาน หลังจากนั้นจะพบกับความน่ากลัวเล็กน้อยเมื่อผีเสื้อราตรีเริ่มออกหาคู่และขยายพันธุ์

ในพื้นของห้องนี้ได้รับการติดตั้งไปด้วยเซนเซอร์ Intel RealSense สองตัว และประกอบไปด้วยเครื่องโปรเจคเตอร์พานาโซนิคตระกูล MZ อีก 8 เครื่อง โดยทั้งหมดเชื่อมต่อกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ Unreal Engine 2 เครื่อง เมื่อเซนเซอร์สามารถตรวจจับและติดตามการเคลื่อนไหวของวัตถุได้ ก็จะส่งข้อมูลไปยังเครื่อง 'sensor PC' ของ Intel NUC 9 ที่ติดตั้งอยู่บนเพดาน ซึ่งจะส่งผลให้สามารถควบคุมความเคลื่อนไหวของผีเสื้อราตรีที่ถูกฉายออกมาได้ เสมือนใช้งานเมาส์ หรือ ก้านควบคุม โดยการฉายวิดีโอนี้มาจากชุดเซิร์ฟเวอร์ที่ประมวลภาพโดย Nvidia GPUs ผ่านทางช่องสัญญาณ Displayport ไปยังตัวแปลงสัญญาณ HDBaseT

ชีวิตผ่านเลนส์

การที่พานาโซนิคมีเลนส์ให้เลือกใช้มากมายเป็นจุดขายที่สำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลนส์ฉายภาพระยะใกล้ (UST) Damien Vanslambrouck แห่ง Lumicom บริษัทผู้รับหน้าที่ติดตั้งเครื่องโปรเจคเตอร์ โดย Damien ได้รู้จักกับเลนส์ UST เหล่านี้จากปัญหาที่เขาเจอขณะที่ทำการติดตั้งระบบในพิพิธภัณฑ์ ACMI ที่กำลังจัดแสดงงาน Moving Image "มีกำแพงที่มีลักษณะหักโค้งถึง 90 องศา เลยทีเดียว ซึ่งทางลูกค้าไม่ได้เตรียมงบประมาณสำหรับการใช้เครื่องโปรเจคเตอร์สองเครื่องพร้อมกัน แต่ว่าเลนส์รุ่น ET-DLE020 ก็เข้ามาช่วยให้เราสามารถฉายภาพได้โดยใช้เครื่องเพียงเครื่องเดียว เหมือนกับว่านี่คือเวทมนตร์แห่งโลกของการฉายภาพและเสียงเลยทีเดียว"

พิพิธภัณฑ์ Melbourne Museum จัดซื้อเลนส์พานาโซนิครุ่น (ET-EMU100 0.33:1 - 0.353:1, ค่าoffset เป็นศูนย์) เพื่อนิทรรศการ Tyama "เรารู้ดีว่าเพดานมีพื้นที่จำกัดมา ณ เวลานั้น และเลนส์ EMU100 ก็ทำงานได้อย่างดีเยี่ยมแม้ในเวลาที่เราต้องการภาพขนาดใหญ่ การที่ความสูงของเพดานนั้นต่ำลงแต่หากเราใช้เลนส์ที่ค่า offset เท่ากับศูนย์ จะทำให้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเครื่องโปรเจคเตอร์สูงเกินขอบจอ ถึงแม้เราจะยังไม่รู้ดีว่าจะใช้งานเลนส์ EMU 100 UST ทั้งสองตัวในลักษณะไหนแต่เรามั่นใจว่าเลนส์นี้จะช่วยงานเราได้แน่นอน และการที่มีอุปกรณ์อย่างอื่นอยู่บนเพดานที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้เลยว่าสุดท้ายแล้วอุปกรณ์ชิ้นไหนจะถูกติดตั้งไว้จุดใด เนื่องจากทีมงานติดตั้งอุปกรณ์ AV จะเริ่มงานหลังจากคนอื่นเสมอ แต่ด้วยเลนส์ EMU 100 ทำให้เรามีความยืดหยุ่นมากพอในการเลือกจุดติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ถึงแม้จะดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ในช่วงแรกก็ตาม

วิสัยทัศน์แห่งการจัดงานแสดง

การลงทุนกับเทคโนโลยีในงานนิทรรศการ Tyama แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยแต่มีนัยสำคัญอย่างยิ่งสำหรับปรัชญาของพิพิธภัณฑ์ พื้นที่ขนาด 30 x 30 เมตรในการจัดแสดงของ Tyama จะทำหน้าที่เสมือนเป็นเจ้าบ้านผู้เปิดประสบการณ์ในการจัดนิทรรศการแห่งอนาคต สำหรับ Richard การจัดนิทรรศการโดยใช้ระบบการฉายภาพและเสียงในพิพิธภัณฑ์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่สามารถเก็บไว้ใช้งานต่อได้ในปีถัดๆไป

โปรเจคเตอร์พานาโซนิคมีคุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดในแผนงานของเรา แต่ว่าส่วนประกอบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบไฟ โครงเหล็ก ระบบเสียง เซิร์ฟเวอร์ เซนเซอร์ RealSense และ เซนเซอร์ UI รวมถึง HDBaseT และ Balun (อุปกรณ์แปลงสมดุลของสัญญาณ) สิ่งเหล่านี้ต่างก็มีส่วนสำคัญทั้งสิ้นในการสร้างอนาคตของพิพิธภัณฑ์ Melbourne Museum

"Richard Pilkinton อธิบายว่า "เราเริ่มต้นเพียงกล่องประดิษฐ์ที่ว่างเปล่า แต่หลังจากนั้นผมก็ต้องการลงทุนในองค์ประกอบต่างๆเพิ่มเข้าไป" "นิทรรศการนี้ทำให้ผมประทับใจมาก Tyama เปิดให้เข้าชมสัปดาห์ละ 7 วัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น ดังนั้นอุปกรณ์ต้องทำงานติดต่อกันตลอดเป็นระยะเวลา 6 เดือน และจำเป็นต้องมีการตรวจสอบและควบคุมอยู่บ้าง ซึ่งปกติแล้วจะไม่จำเป็นต้องทำในการแสดงนิทรรศการแบบนี้""

ถ้ำค้างคาว

ผู้เข้าชมจะกลายเป็นค้างคาวคอยส่งสัญญาณเสียงเพื่อช่วยนำทางภายในอุโมงค์ พิพิธภัณฑ์ Melbourne Museum ว่าจ้างบริษัท AX Interactive เพื่อสร้าง UI ที่ช่วยให้ทีมงานฉายภาพและเสียงสามารถเห็นประโยชน์จากการใช้งานเซนเซอร์หลายๆตัวได้ ในกรณีนี้ถ้ำค้างคาวใช้เซนเซอร์เสียง (ไมโครโฟน) ไมโครโฟน RME mic preamp จะคอยส่งสัญญาณให้กับเครื่องจับสัญญาณ NUC sensor PC ซึ่งจะเป็นตัวจับเสียงปรบมือที่ดังที่สุดจากไมโครโฟนทั้งสี่ตัว

เครื่อง Unreal engine จะใช้ข้อมูลที่ได้เพื่อประมวลผลหาเสียงปรบมือที่ดังที่สุดที่มาจาก Quadrant 4A หลังจากนั้น Unreal จะส่งข้อมูลผ่าน HDBaseT line ไปยังเครื่องโปรเจคเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่เพื่อแสดงกราฟิกของตำแหน่งเสียงสะท้อน และส่งข้อมูลต่อไปยัง QLab เพื่อเล่นเสียงโต้ตอบผ่านระบบหลายช่องเสียงสัญญาณ

ถ้ำค้างคาวนี้ใช้เครื่องโปรเจคเตอร์พานาโซนิคตระกูล MZ ซีรีส์ จำนวน 4 เครื่อง และลำโพงอีก 16 ตัว

เขตน้ำตื้น

แหวกว่ายไปกับฝูงปลาแอนโชวี่ (anchovy) และหลอกล่อพวกปลาให้เข้าไปบริเวณน้ำตื้น เพื่อพบกับเหล่าผู้ล่าอย่างปลาสโตนฟิช (stonefish) และนกทะเลแกนเนท (gannet) เครื่องโปรเจคเตอร์ตระกูล MZ ซีรีส์ของพานาโซนิคจำนวน 14 เครื่องทำหน้าที่ระบายสีไปยังทั่วทุกอณูของพื้นที่ทรงเรขาคณิตต่างๆ รวมถึงภายในโครงสร้างทรงกระบอกที่ใช้เครื่องโปรเจคเตอร์ 5 เครื่องด้วยกัน

เซนเซอร์ 4 ตัวของ Intel RealSense จะส่งข้อมูลการติดตามความเคลื่อนไหวสำหรับข้อมูลเพื่อโต้ตอบ ไปยัง Intel NUC 9 Extreme หนึ่งเครื่อง ส่วนสัญญาณเสียงจะส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ QLab เพื่อเล่นเสียงประกอบและเพลงต่างๆจากลำโพง Genelec PoE และ ลำโพงแบบ passive (ลำโพงที่ไม่มีแอมพลิฟายเออร์ในตัว) ของยามาฮ่า จำนวน 7 ตัว

Genelec PoE และ ลำโพงแบบ passive ของยามาฮ่าทั้งหมดจำนวน 22 ตัว ทำหน้าที่สร้างระบบเสียงแบบ audio immersion (หรือบางคนเรียกว่า ระบบเสียงสามมิติ) โดยใช้วิธีที่รวมถึงการกระจายเสียงขึ้นด้านบนเพื่อให้สัมผัสถึงภาพที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ด้านล่าง

ห้องแห่งวาฬ

กำแพงใหญ่ขนาด 8 เมตรทำหน้าที่เสมือนผืนผ้าใบขนาดมหึมาสำหรับเจ้าสุภาพบุรุษยักษ์ใหญ่แห่งท้องทะเล ความละเอียดของภาพแห่งท้องทะเลที่กว้างไกลสุดสายตา จากเครื่องตระกูล MZ ซีรีส์ของพานาโซนิคจำนวนทั้งหมด 15 เครื่อง ซึ่งมีถึง 14 เครื่องที่ทำหน้าที่ฉายภาพในแนวตั้ง

Richard Pilkington อธิบายว่า “แสงที่สะท้อนจากหน้าจอฉายภาพในห้องมืดนั้นแตกต่างกับตัวกำเนิดแสงอย่างสิ้นเชิง Richard Pilkington อธิบายว่า “แสงที่สะท้อนจากหน้าจอฉายภาพในห้องมืดนั้นแตกต่างกับตัวกำเนิดแสงอย่างสิ้นเชิง พวกคุณอาจจะอยากบอกว่า 'ถ้าอย่างนั้นก็ใช้วิธีหรี่ความสว่างของจอ LED ก็ได้เช่นกันนี่' แต่ผมรู้ดี ว่าจอพวกนั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อสิ่งนี้แน่นอน"

เพื่อความกลมกลืนของการฉายภาพ โปรแกรม Incontrol ของพานาโซนิคจะทำหน้าที่สร้างการเลือนหายของภาพ (image fade) ในขณะที่ เซิร์ฟเวอร์ Vioso จะทำหน้าที่เกลี่ยภาพให้กลมกลืนกัน (image blend) Richard Pilkington เล่าว่า "การใช้โปรแกรม Panasonic Incontrol สามารถช่วยแก้ปัญหาภาพลอยค้างที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ โดยที่ไม่จำเป็นต้องกลับไปแก้ไขผ่าน Vioso อีก ในความคิดของผม สิ่งนี้ช่วยให้ลดจำนวนปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้"

ตัวชี้ความสำเร็จ

ด้วยตัวเนื้องานแล้วนั้น Tyama เป็นนิทรรศการแห่งโลกเสมือนจริงที่ส่งผลได้หลากหลายแบบในแต่ละบุคคล บางคนรู้สึกดีที่ได้เพียงยืนดูจากมุมหนึ่งแล้วพยายามซึมซับทุกอย่างเข้าไป แต่บางคน (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเด็กๆ) สามารถทำความเข้าใจกลไกลของการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์และมีความสุขร่วมไปด้วยได้ทันที และก็มีคนที่แสดงออกด้วยวิธีอื่นๆอีกมากมาย

การที่มีพื้นที่ที่สามารถจุคนได้กว่า 20 คน และสามารถให้ทุกๆคนมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับเนื้อหาที่กำลังแสดงอยู่ได้พร้อมกันนั้น เป็นเรื่องที่พิเศษมาก และนั่นกำลังพิสูจน์ให้เห็นว่า ระบบการนำเสนอภาพและเสียง AV สามารถดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้มาอยู่ร่วมกันเพื่อแบ่งปันและดื่มด่ำกับความอัศจรรย์ไปพร้อมกันได้

Tyama คืออะไร

Tyama (อ่านว่า CHAH-MUH) เป็นคำกริยาในภาษา Keerray Woorroong แปลว่า 'รับรู้' นั่นคือการรับรู้ที่ไม่ได้หมายถึงทางจิตใจเท่านั้น แต่ด้วยร่างกายทั้งหมดของเรา หากเราฟังเสียงและเรียนรู้ไปด้วยประสาทสัมผัสทั้งหมดของเรา เราจะสามารถเข้าถึงสิ่งต่างๆเหล่านี้และจะทำให้เราเข้าใจถึงจุดยืนของเราบนโลกใบนี้ได้ จากพื้นฐานความรู้ของกลุ่ม First Peoples นิทรรศการชุด Tyama นี้ได้ผสมผสานสิ่งที่เป็นกายภาพและทางดิจิทัลเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนเพื่อสร้างประสบการณ์ที่พลาดไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง อันจะช่วยให้คุณค้นพบความเชื่อมโยงระหว่างตนเองกับธรรมชาติอีกครั้ง Tyama จะพาคุณเดินทางไปยังธรรมชาติของรัฐวิคตอเรีย ผ่านการฉายภาพแบบ 360 องศาและระบบเสียงที่งดงามและน่าตื่นตาตื่นใจ

คุณกำลังมองหาอุปกรณ์การฉายภาพอยู่ใช่หรือไม่

เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญพร้อมจะช่วยเหลือคุณ

Read more insights…

Sorry there was an error...
The files you selected could not be downloaded as they do not exist.

You selected items.
Continue to select additional items or download selected items together as a zip file.

You selected 1 item.
Continue to select additional items or download the selected item directly.

Download selected file